บทความ

หลัก ภาษาไทย

รูปภาพ
     ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย      รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้พระโหราธิบดีแต่งแบบเรียนภาษาไทยขึ้นเป็นแบบเรียน ภาษาไทยเล่มแรกมีชื่อว่า   ” จินดามณี ” ซึ่งแปลว่า แก้วสารพัดนึก     ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย  อาจารยางกูร) ได้แต่งแบบเรียนภาษาไทย คือ มูลบทบรรพกิจ  วาหนิติ์นิกร  อักษรประโยค  สังโยคพิธาน  ไวพจน์พิจารณ์  และพิศาลการันต์ และต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดพิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่อีกเล่มหนึ่งโดยย่อ จากตำราสยามไวยากรณ์  และใน พ.ศ.๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์นำมาแต่งเป็นตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทยที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย อักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณ์  ถือว่าตำราเล่มนี้เป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและ ใช้กันจนถึงปัจจุบัน ≡ ≡ ≡ ≡

อักขรวิธี

รูปภาพ
อักขรวิธี พยัญชนะ พยัญชนะไทยในป ั จจุบันมี ๔๔ ตัว แต ่ ใช ้ เพียง ๔๒ ตัว โดยมีพยัญชนะที่ไม ่ ได ้ ใช ้ ตั้งแต ่  ป ี พ.ศ.๒๔๔๕ อยู ่ ๒ ตัว ได ้ แก ่ ฃ ฅ (กรมวิชาการ , ๒๕๔๕ : ๖๙) พยัญชนะไทย มี๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังนี้ สระ ป ั จจุบันสระในภาษาไทย มีการแบ ่ งรูปและเสียงต ่ างกันเป ็ น ๒ ลักษณะ ๑. หนังสือหลักภาษาไทย ของพระยาอุปกิตศิลปสาร กล ่ าวถึงรูปสระและเสียงสระในภาษาไทย ว ่ ามี๒๑ รูป ได ้ แก ่ วิธีใช ้ รูปสระ สามารถใช ้ ได ้ ๒ วิธีคือ ใช ้ สระรูปเดียวและสระหลายรูปประสมกัน ส ่ วนเสียงตาม ตํารำอักขรวิธีดั้งเดิมของไทย กล ่ าวว ่ า ในภาษาไทยมีสระ ๒๑ รูป แทนเสียงได ้ ถึง ๓๒ เสียง ดังนี้ ๒. หนังสือบรรทัดฐานภาษาไทย เล ่ ม ๑ (กรมวิชาการ : ๒๕๔๕) กล ่ าวว ่ า สระในภาษาไทย มีรูปสระที่ใช ้ แทนเสียง จํานวน ๓๖ รูป ดังนี้ วรรณยุกต์ ภาษาไทยได ้ กําหนดวรรณยุกต ์ ไว ้ ใช ้ ในภาษาเขียน เพื่อเป ็ นเครื่องหมายแทนระดับเสียงสูง ต่ำในภาษา วรรณยุกต ์ ไทยมี๔ รูป ได ้ แก ่ ตารางการผันวรรณยุกต์ -----------------

วจีวิภาค

รูปภาพ
วจีวิภาค คำอธิบาย  ‘ วจีวิภาค ’ เป็นภาษาบาลี แปลว่า การจำแนกถ้อยคำ ใช้เป็นชื่อตำราไวยากรณ์ ซึ่งว่าด้วยถ้อยคำที่ใช้อยู่ในภาษาไทย นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของตำราไวยากรณ์ ต่อจากตำราอักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยตัวหนังสือ ความหมายของคำ  “ คำ ” เป็นกลุ่มเสียงที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏได้โดยอิสระและมีความหมาย คำ   ต้องเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเสมอ ส่วนพยางค์ เป็นกลุ่มเสียงเช่นกัน ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์   พยางค์ 1 พยางค์ ถ้ามีความหมายก็เป็นคำ 1 คำ ถ้าพยางค์ 1 พยางค์ ไม่มีความหมายก็ไม่ถือว่าเป็นคำ คำพยางค์จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำ เช่น                             ดี            1     พยางค์      1     คำ                                            สัปดาห์       2     พยางค์      1     คำ                        ชนบท         3    พยางค์      1      คำ                          ราชธานี        4    พยางค์       1     คำ ชนิดของคำ คำในภาษาไทยจำแนกได้ 7 ชนิด ได้แก่ 1. คำนาม 2. คำสรรพนาม 3. คำกริยา 4. คำวิเศษณ์ 5. คำบุพบท 6. คำสั

วากยสัมพันธ์

รูปภาพ
วากยสัมพันธ์ คือไวยากรณ์ไทย ว่าด้วยประโยค และความเกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ในประโยค การศึกษากฎหรือความสัมพันธ์ของภาษาอย่างเป็นแบบแผน ที่ควบคุมการเรียงคำเป็นวลี และวลีเป็นประโยค การสร้างคำในภาษาไทย              คำที่ใช้ในภาษาไทยดั้งเดิม ส่วนมากจะเป็นคำพยางค์เดียว เช่น พี่น้อง เดือนดาว จอบไถ   หมูหมา กิน นอน ดี ชั่ว สอง สาม เป็นต้น เมื่อโลกวิวัฒนาการ มีสิ่งแปลกใหม่เพิ่มขึ้น   ภาษาไทยก็จะต้องพัฒนาทั้งรูปคำและการเพิ่มจำนวนคำ เพื่อให้มีคำใช้ในการสื่อสารให้เพียงพอ กับการเปลี่ยนแปลงของวัตถุสิ่งของและเหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสร้างคำ ยืมคำและเปลี่ยนแปลงรูปคำซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้ แบบสร้างคำ        แบบสร้างคำ คือ วิธีการนำอักษรมาประสมเป็นคำเกิดความหมายและเสียงของแต่ละ พยางค์ ใน ๑ คำ จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน เป็นอย่างน้อย คือ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ อย่างมากไม่เกิน ๕ ส่วน คือ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์ รูปแบบของคำ       คำไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีทั้งคำที่เป็นคำไทยดั้งเดิม คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ คำศัพท์ เฉพาะทางวิชาการคำที่ใช้เฉพาะในภาษาพูด คำชนิดต่าง ๆ เหล่านี้ม