วจีวิภาค


วจีวิภาค


คำอธิบาย ‘วจีวิภาคเป็นภาษาบาลี แปลว่า การจำแนกถ้อยคำ ใช้เป็นชื่อตำราไวยากรณ์ ซึ่งว่าด้วยถ้อยคำที่ใช้อยู่ในภาษาไทย นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของตำราไวยากรณ์ ต่อจากตำราอักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยตัวหนังสือ
ความหมายของคำ “คำเป็นกลุ่มเสียงที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ที่ปรากฏได้โดยอิสระและมีความหมาย
คำ ต้องเป็นกลุ่มคำที่มีความหมายเสมอ ส่วนพยางค์ เป็นกลุ่มเสียงเช่นกัน ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์   พยางค์ 1 พยางค์ ถ้ามีความหมายก็เป็นคำ 1 คำ ถ้าพยางค์1 พยางค์ ไม่มีความหมายก็ไม่ถือว่าเป็นคำ คำพยางค์จึงเป็นส่วนหนึ่งของคำ เช่น
                         ดี            1     พยางค์     1     คำ                                          
สัปดาห์       2    พยางค์     1     คำ
                       ชนบท        3    พยางค์     1      คำ
                        ราชธานี      4    พยางค์      1     คำ
ชนิดของคำ
คำในภาษาไทยจำแนกได้ 7 ชนิด ได้แก่
1. คำนาม
2. คำสรรพนาม
3. คำกริยา
4. คำวิเศษณ์
5. คำบุพบท
6. คำสันธาน
7. คำอุทาน 

1. คำนาม

คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ บุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คำนาม ชนิดของคำนามได้แก่

1.สามานยนาม เป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คน นักเรียน บุรุษไปรษณีย์  กีฬา

2.วิสามานยนาม เป็นชื่อเฉพาะของบุคคล หรือสถานที่ เช่น สมศักดิ์ สุดา มีนบุรี ฉะเชิงเทรา

3.ลักษณนาม เป็นคำนามบอกลักษณะ เช่น ผล ตัว อัน แท่ง ใบ

4.สมุหนาม เป็นคำนามบอกหมวดหมู่ เช่น โขลง ฝูง หมู่ เหล่า

5.อารการนาม เป็นคำที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้า เช่น การวิ่ง ความดี ความจริง

 

2. คำสรรพนาม

คือ คำสรรพนามคำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม ที่ผู้พูดหรือผู้เขียนได้กล่าวแล้ว หรือเป็นที่เข้าใจกันระหว่าง ผู้ฟังและผู้พูด เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำ

 การใช้คำสรรพนามในการสื่อสาร

1. สรรพนามแทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึงหรือคิดถึง
2. สรรพนามใช้ชี้ระยะ
3.  สรรพนามใช้ถาม
4. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง
5.  สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ
6. สรรพนามเชื่อมประโยค
7. สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด

3. คำกริยา

        ชนิดของคำกริยา

 1.กริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ เรียกว่า อกรรมกริยาเช่น เดิน วิ่ง ร้องไห้

 2.กริยาที่ต้องอาสัยกรรมมาทำให้สมบูรณ์ เรียกว่า สกรรมกริยาเช่น ทำ ซื้อ กิน

 3.กริยาที่ช่วยให้กริยาอื่น มีความหมายชัดเจนขึ้น เรียกว่า กริยานุเคราะห์เช่น คง จะ น่า แล้ว อาจ นะ ต้อง

 4.กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้มีความหมายสมบูรณ์ ส่วนเติมเต็มนี้ไม่ใช้กรรม คำกริยาดังกล่าว ได้แก่ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ

 5.กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม อาจเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายประโยค คำกริยาชนิดนี้มักจะมีคำว่า การเช่น พูด 


4.คำวิเศษณ์
ชนิดของคำวิเศษณ์
1.ประกอบคำนาม เช่น คนงาม ชายหนุ่ม มะพร้าวอ่อน ผ้าบาง
2.ประกอบคำสรรพนาม เช่น เขาสูง เธอสวย มันดุ
3.ประกอบคำกริยา เช่น วิ่งเร็ว อยู่ไกล นอนมาก
4.ประกอบคำวิเศษณ์ เช่น อากาศร้อนมาก เธอดื่มน้ำเย็นจัด
 ข้อควรสังเกต
1. คำบางคำอาจทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์ และในบางโอกาสทำหน้าที่เป็นคำกริยาสำคัญใน ประโยค
2. คำนามบางคำ อาจทำหน้าที่ขยายคำอื่นได้ ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าคำนามคำนั้น ทำหน้าที่ คำวิเศษณ์
3. ในการเรียงคำเข้าประโยคในภาษาไทย ส่วนใหญ่เรามักให้ส่วนขยายตามหลังคำที่ขยาย

5.คำบุพบท
ข้อสังเกต
1.                           คำที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงคำหนึ่ง หรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่นหรือกลุ่มคำ
อื่น เพื่อบอกสถานที่ เวลา แสดงอาการ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ

6. คำสันธาน
ข้อสังเกต
1.                           คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคกับประโยค ข้อความที่มีคำสันธานเชื่อมอยู่นั้นมักจะเเยก
ออกได้เป็นประโยคมากกว่าหนึ่งประโยค

7. คำอุทาน 
 ชนิดของคำอุทาน
1.คำอุทานบอกอาการ ใช้บอกอาการในการพูดจากัน เช่น โธ่! ไม่น่าเลย
2.อุทานเสริมบท ใช้กล่าวเป็นการเสริมคำในการพูดเพื่อเน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น ทำให้สนุกในการออกเสียงให้น่าฟังขึ้น
ข้อสังเกต
1. คำอุทานมักอยู่ข้างหน้าประโยค
2. คำอุทานอาจมีลักษณะเป็นกลุ่มคำก็ได้
3. คำอุทานชนิดหนึ่ง เรียกว่า คำอุทานเสริมบท
4. คำที่พบในโคลง




----------------------------------------------------------------------------------------


แหล่งข้อมูล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อักขรวิธี

วากยสัมพันธ์