หลัก ภาษาไทย




     ภาษาไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย     รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้พระโหราธิบดีแต่งแบบเรียนภาษาไทยขึ้นเป็นแบบเรียน ภาษาไทยเล่มแรกมีชื่อว่า  จินดามณีซึ่งแปลว่า แก้วสารพัดนึก
    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย  อาจารยางกูร) ได้แต่งแบบเรียนภาษาไทย คือ มูลบทบรรพกิจ  วาหนิติ์นิกร  อักษรประโยค  สังโยคพิธาน  ไวพจน์พิจารณ์  และพิศาลการันต์ และต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดพิมพ์ตำราสยามไวยากรณ์เป็นแบบเรียน และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีได้เรียบเรียงขึ้นใหม่อีกเล่มหนึ่งโดยย่อ จากตำราสยามไวยากรณ์  และใน พ.ศ.๒๔๖๑ พระยาอุปกิตศิลปสาร(นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ใช้เค้าโครงของตำราสยามไวยากรณ์นำมาแต่งเป็นตำราหลักภาษาไทยขึ้นใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นตำราหลักภาษาไทยที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วย
อักขรวิธี  วจีวิภาค  วากยสัมพันธ์  และฉันทลักษณ์  ถือว่าตำราเล่มนี้เป็นแบบฉบับหลักภาษาไทยที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและ ใช้กันจนถึงปัจจุบัน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วจีวิภาค

อักขรวิธี

วากยสัมพันธ์